top of page

ข้อดีและข้อเสียของการให้รางวัลเมื่อลูกทำดี

ผู้ปกครองหลายท่านต่างก็มีวิธีเลี้ยงลูกหลากหลายรูปแบบต่างกันเพื่อให้ลูกน้อยเติบโตขึ้นมาเป็นเด็กดีและเชื่อฟังคำสอน วันนี้อาาแอนเลือกบทความหนึ่งจากเว็ปไซต์ themotherco.com เขียนเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของการให้รางวัลเมื่อเด็กน้อยทำดี

บทความนี้ ได้รับการตอบรับจากผู้ปกครองเป็นอย่างมาก เพราะมีทั้งผู้ปกครองที่ผลสำเร็จและล้มเหลวจากการใช้วิธีให้รางวัลเมื่อลูกทำดี วันนี้อาแอนคิดว่าเรื่องราวดีๆ มีประโยชน์จากหัวข้อนี้น่าจะช่วยคลายข้อสงสัยหรือทำให้มั่นใจมากขึ้นบ้างว่าสิ่งที่ผู้ปกครองกำลังทำอยู่นั้นจะช่วยให้ลูกน้อยเป็นเด็กดีได้หรือไม่ ดังนั้นเรามาดูกัน่ว่า "ข้อดีและข้อเสียของการให้รางวัลเมื่อลูกน้อยทำดี" นั้นมีอะไรกันบ้าง?

"การให้รางวัลเมื่อลูกทำดีนั้นจะช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมลูกน้อยได้จริงหรือ? วิธีให้รางวัลนี้มันจะส่งผลต่อพฤติกรรมลูกเพียงชั่วคราวหรือไม่? ดาวเด็กดีกระตุ้นให้เด็กทำดีเพราะต้องการคำชมโดยมองไม่เห็นค่าในสิ่งที่ทำหรือไม่? หรือสติ๊กเกอร์เด็กดีนี้เป็นวิธีช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกของเรา?"

ผู้ปกครองหลายท่านอาจมีข้อสงสัยและต้องการจะทราบข้อเท็จจริงเหล่านี้ว่ามันจะเป็นไปในทางไหนกันบ้าง จากการสัมพษณ์ ดร.โรเบิร์ต แมคเคนซี และอัลฟี โคน สองผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมมนุษย์ ทั้งสองท่านนี้ได้แสดงความคิดเห็นไว้ดังนี้

ดร.โรเบิร์ต แมคเคนซี:

ในมุมมองของ ดร.โรเบิร์ต การให้รางวัลเมื่อลูกน้อยทำดีนั้นเป็นวิธีที่ดีเพื่อกระตุ้นให้เด็กๆ ทำดีตามที่พ่อแม่ระบุไว้ในแผ่นตารางทำดี อย่างไรก็ตาม ก่อนจะเริ่มใช้วิธีการนี้ พ่อแม่ควรทำความเข้าใจก่อนว่า ต้องการให้รางวัลหรือตอบแทนลูกน้อยเมื่อทำดีเพราะมองว่าเป็นทางเลือกหนึ่งในการตอบแทนลูกน้อยหรือไม่ เพราะถ้า "ใช่" ทาง ดร.โรเบิร์ต มองว่าวิธีนี้จะไม่มีประโยชน์เลยเพราะเด็กๆ จะมองไม่เห็นค่าของรางวัลที่ได้มา

ยกตัวอย่างเช่น พ่อแม่จะให้รางวัลหรือเงินค่าขนมหากลูกเก็บอุจจาระสุนัขทุกวัน แต่แล้วพ่อแม่สังเหตุเห็นว่าอุจจาระสุนัขยังอยู่ที่เดิม จึงเรียกลูกน้อยมาสอบถามและชี้แจงว่าลูกจะไม่ได้รางวัลเพราะไม่ได้ทำตามที่พ่อแม่มอบหมาย ลูกจึงตอบว่า "ไม่เป็นไรครับ หนู/ผมพอมีเงินเก็บค่าขนมอยู่บ้าง" หรือ "วันนี้หนู/ผมไม่อยากดูทีวี ครับ/ค่ะ" แล้วคุณพ่อแม่จะทำอย่างไรเมื่อลูกตอบเช่นนี้?

ดร.โรเบิร์ต จึงชี้แจงอีกมุมหนึ่งให้เห็นว่า หากพ่อแม่มอบหมายหน้าที่ที่ลูกน้อยต้องทำเพราะเป็นสิ่งจำเป็น ลูกน้อยก็จะเห็นค่าของรางวัลที่ได้ ทางดร. โรเบิร์ต แนะนำให้ผู้ปกครองใช้วิธีที่ให้รางวัลเมื่อทำดีและบอกโทษของการไม่ปฏิบัติหน้าที่ควบคู่กัน ยกตัวอย่างเช่น

พ่อแม่อยากให้ลูกเก็บที่นอนตอนเช้าทุกๆ วัน และหากลูกทำหน้าที่ตัวเองทุกวันก็จะได้รางวัลเป็นสติ๊กเกอร์หรือเงินค่าขนม (5 บาทต่อวันหรือได้สติ๊กเกอร์ 5 ดวง) และผลที่ได้คือที่นอนเป็นระเบียบ การเลือกใช้วิธีให้รางวัลและบทลงโทษหากไม่ทำดี นั้นเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้เด็กๆ มองเห็นคุณค่าของรางวัลที่ได้เป็นสองเท่า ส่วนใหญ่เด็กๆ จะเรียนรู้ได้เองและเลือกที่จะทำดีเพื่อให้ได้รางวัลมากกว่าโดนลงโทษเพราะไม่ทำตามที่พ่อแม่มอบหมาย

ในอีกมุมมองหนึ่ง ทางด้านอัลฟี โคน เชื่อว่าการให้รางวัลเป็นวิธีที่ไม่ควรนำมาใช้ เพราะว่าเด็กไม่ใช่สัตว์เลี้ยงที่เราจะต้องฝึกให้ทำตามคำสั่ง เขามองว่า "การลงโทษ" ยังคงเป็นสิ่งเดียวที่จะทำให้เด็กๆ ทำตามหน้าที่หรือเชื่อฟังพ่อแม่ และในที่สุดแล้ว เด็กๆ จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดในหน้าที่ อีกทั้งรู้วิธีโน้มน้าวให้ผู้อื่นทำตามหรือช่วยกันแก้ไขปัญหา

การให้สติ๊กเกอร์หรือดาวเด็กดีนั้นมันไม่ได้เป็นการบังคับหรือเป็นที่ยำเกรงเลย หรือเรียกง่ายๆว่า "ไม่ได้ผล" ถ้าจะได้ผลก็เพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น ทางอัลฟี โคน อ้างว่ามีงานวิจัยมากมายที่ศึกษาและพบว่ายิ่งพ่อแม่ให้รางวัลลูกเมื่อทำดีมากเท่าไหร่ สุดท้ายแล้วเด็กก็จะไม่อยากทำตาม ไม่ว่ามันจะเป็นสิ่งที่เด็กต้องทำหน้าที่เพื่อให้ได้รางวัลก็ตาม ดังนั้นเมื่อเด็กๆ ค้นพบว่ารางวัลที่ได้ไม่เห็นจะมีอะไรน่าสนใจ พ่อแม่ก็อย่าหวังว่าเด็กจะทำตัวดีอีกเป็นครั้งที่สองเพื่อให้ได้รางวัล

ยกตัวอย่าง พ่อแม่อยากให้ลูกอ่านหนังสือ จึงเสนอรางวัลให้ วิธีนี้จะทำให้ลูกไม่มีความตื่นเต้นในการอ่านหนังสือ ดังนั้นจึงมีคำถามต่อมาอีกว่า ผลที่ได้จากการให้รางวัลแก่ลูกเมื่อทำดีคืออะไร?

การที่พ่อแม่เลือกทำตารางติดสติ๊กเกอร์ทำดีค่อนข้างเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก (ไหมเอ่ย อันนี้อาแอนไม่แน่ใจ) ใช้เวลาไม่มากในการทำ แถมไม่ต้องใช้ทักษะอะไรมากมาย แต่!! ลองคิดดูสิว่าการที่เราจะเลือกหารางวัลที่ถูกใจหรือใช้วิธีอธิบายถึงผลที่ตามมาหากไม่ทำดี มันเป็นอะไรที่ไม่ง่ายและใช้ทักษะเยอะแยะมากมาย แต่ก็นั่นแหละ การจะตอบคำถามเพิ่มไปอีกว่า แล้วจะทำอย่างไรเด็กๆถึงจะทำตามที่สั่ง? อืม อันนี้ก็น่าคิดนะคะ อาแอนก็คิดถึงไปเจ้าลิงน้อยลีโอเชียวหละ จะจัดการเจ้าลิงยังไงดี

หลายครั้ง ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เด็กที่ไม่ยอมทำตามที่เราบอก แต่ ปัญหาอยู่ที่ เรากำลังพยายามให้เด็กทำอะไร? สรุปง่ายๆ ได้ใจความเลยคือ "การสนับสนุนในเชิงบวก" (ตรงกันข้ามกับการลงโทษ) เป็นทางเดียวที่พ่อแม่ควรนำมาใช้กับลูกก็ต่อเมื่อลูกทำดีให้พ่อแม่ประทับใจ

เอาสรุปง่ายขึ้นมาอีกคือการใช้จิตวิทยาเข้าช่วย เพราะจิตวิทยาเป็นหัวใจสำคัญของการทำหน้าที่เป็นพ่อเป็นแม่เพื่อสื่อสารให้ลูกเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความไม่มีเงื่อนไขในความรักที่พ่อแม่มอบให้ แสดงให้ลูกเห็นความรักที่พ่อแม่มีให้ อย่าปล่อยให้ลูกต้องเป็นฝ่ายเรียกหาความรักจากพ่อแม่!!!

ขอขอบคุณที่มาของบทความนี้: http://www.themotherco.com/2012/07/reward-charts-and-their-pros-and-cons/

Featured Review

tag cloud

No tags yet.

Love monkey? like monkey!

related posts

comments

Leave a Comment

bottom of page